เรื่องเกมๆกับน้องแสว : มารู้จัก 第五人格 กันเถอะ !

สวัสดีค่ะทุกคน พบกับน้องแสวอีกแล้วว ( )ʃ

      หลังจากที่แอบๆ(?)ขายเกม Identity V ไว้ในเอนทรี่ก่อนหน้าวันนี้เลยจะมาแนะนำเกมนี้ให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกัน ด้วยเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่น ค่ะ !! ซึ่งคำศัพท์ที่จะนำมาแบ่งปัน จะเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในเกม Identity V โซนญี่ปุ่น รวมถึงคำศัพท์ที่ผู้เล่นคนญี่ปุ่นใช้เรียกหรือใช้สื่อสารกันค่ะ บางคำถ้าไม่เข้าใจระบบเกมอาจจะเข้าใจยากหน่อย เลยจะขอแนะนำตัวเกมคร่าวๆ (?) และจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดค่ะ และด้วยความที่มันเป็นคำศัพท์เกม ก็เลยมีทั้ง 和語 漢語 外来語 混種語 จุกๆ กันไปเรยยย
*ติดตามน้อง 漢語 กรุบๆ ได้ที่เอนทรี่นี้ค่ะ  จิ้มๆ 


Identity V หรือภาษาญี่ปุ่นคือ 第五人格 (だいごじんかく) 
 ซึ่งคำว่า 人格(じんかく)ก็แปลว่า ตัวตน หรือ บุคลิกลักษณะ นั่นเองค่ะ
      เป็นเกมประเภทหลบหนีและไล่ล่าแบบ 4vs1 โดยจะมีผู้เล่นฝั่งผู้รอดชีวิต หรือ Survivor (サバイバー) 4 คน และฝั่งผู้ล่า หรือ Hunter (ハンター) 1 คน หลักการชนะจะเหมือนกันทั้งสองฝ่าย และเราสามารถเลือกเล่นเป็นฝ่ายใดก็ได้ทั้งสองฝ่ายค่ะ


ฝ่ายผู้รอดชีวิต จะต้องทำการถอดรหัสเครื่องปั่นไฟทั้งหมด 5 เครื่อง เพื่อที่จะเปิดประตูทางออก ให้ได้ 3 คนขึ้นไป ถึงจะเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขันแมทช์นั้นค่ะ 

ฝ่ายผู้ล่า ก็จะต้องทำการไล่ล่าผู้รอดชีวิต เพื่อจับมานั่งที่เก้าอี้จรวด หากเก็บผู้รอดชีวิตได้ 3 คนขึ้นไปภายในแมทช์ จะเป็นฝ่ายชนะไปค่ะ


เหมือนจะดูเป็นเกมต่อสู้ แต่จริงๆ แล้ว point หลักของเกมอยู่ที่การวางแผน สื่อสาร 
แล้วก็การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าค่ะ ไม่ได้ฆ่าฟันอะไรจริงจังขนาดนั้น 55555
      
      รูปแบบหรือ pattern ในแต่ละเกมค่อนข้างไม่ตายตัว เนื่องจากตัวละครในเกมนั้นมีหลากหลายตำแหน่งหน้าที่ และมีความสามารถพิเศษที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้เล่นฝั่งเซอร์ไวเวอร์ที่จะจัดสรรทีมของตัวเอง และผู้เล่นฝั่งฮันเตอร์ที่จะเลือกตัวละคร ค่าความสามารถ หรือสกิลพิเศษ ต่างๆ เพื่อจะรับมือกับผู้รอดชีวิตในแมทช์นั้นๆ และที่สำคัญคือ เกมมีโอกาสพลิกได้เสมอ ขึ้นอยู่ที่ว่า ฝั่งไหนจะพลาดมากกว่ากัน และแก้เกมได้น้อยกว่ากัน เท่านั้นเองค่ะ ( •-)-

แน่นอนว่า ในแต่ละเกม เซอร์ไม่ได้มีหน้าที่แค่ปั่นไฟ และฮ้ันก็ไม่ได้มีหน้าที่แค่ไล่ตีคนค่ะ
แต่เนื่องจากปกติเราเล่นแต่สายเซอร์ เลยจะขอแนะนำจากมุงมองของฝั่งเซอร์เป็นหลักนะคะ

อาจจะยังมองภาพไม่ค่อยออกว่าในแมทช์นึงทำอะไรบ้าง มาลองดูภาพประกอบกันค่ะ

การปั่นไฟ(解読)

พระเอกหลักของเกมนี้ 
ต้องมีคนปั่นไฟเท่านั้น ทีมถึงจะรอดค่ะ 

เริ่มเกมมา เซอร์ไวเวอร์จะหาเครื่องปั่นไฟเพื่อทำการถอดรหัสค่ะ


 
เราต้องปั่นเจ้าเครื่องหน้าตาแบบนี้ทั้งหมด 5 เครื่อง เรียกว่า 

暗号機(あんごうき)
แปลว่า เครื่องปั่นไฟค่ะ

เมื่อปั่นจนสามารถจุดเครื่องสุดท้ายได้สำเร็จ ผู้รอดชีวิตทุกคนที่เหลือ 
จะสามารถนำรหัสไปใส่ที่ประตูทางออกเพื่อเปิดประตูได้ค่ะ

โดยปกติแล้วมักจะถอดรหัสแยกกัน 1 คน ต่อ 1 เครื่อง หรือง่ายๆก็คือ แยกกันปั่น 
เพื่อให้เครื่องปั่นไฟเสร็จไวที่สุดค่ะ ทุกคนจะมีเครื่องเป็นของตัวเองงี้ 

แต่ !! ระวังไว้ให้ดี เพราะในขณะที่กำลังปั่นไฟ
คุณอาจจะเป็นผู้โชคดี ที่ฮันเตอร์เดินเข้าไปหาค่ะ ( _ )

  การถ่วงเวลาผู้ล่า(チェイス)

เซอร์ทุกคนจำเป็นที่จะต้อง
หลบหนีจากผู้ล่า ไม่ให้ถูกตีจนบาดเจ็บ เพราะถ้าบาดเจ็บ แล้วโดนตีอีกทีจนล้มเมื่อไหร่ ฮันเตอร์สามารถจับเราไปนั่งเก้าอี้จรวดได้ทันทีค่ะ

แต่แน่นอนว่า เราคงซ่อนกันเป็นเกมซ่อนหาไม่ได้เสมอไป
เมื่อมันจวนตัว เราจึงจำเป็นต้อง ถ่วงเวลาผู้ล่า ให้ได้นานที่สุดค่ะ



โดยปกติแล้วฝั่งไทยจะเรียกการถ่วงเวลาผู้ล่าว่าการ จู้ค (Juking) ค่ะ แปลว่าการวิ่งหนีอย่างมีเทคนิค แต่ฝั่งญี่ปุ่นจะใช้ต่างประเทศที่เรียกว่า

Chase ; チェイス

      ได้ยินทีไรอดคิดว่าวิ่งไล่จับไม่ได้เรย55555 ที่เคยได้ยินผู้เล่นญี่ปุ่นพูดบ่อยๆ ก็ตัวอย่างเช่น
チェイスに入ります(チェイスにはいります)ใช้พูดตอนที่จะบอกเพื่อนๆ ว่า ฮันกำลังหมายหัวฉันอยู่นะ ! ฉันจะจู้คแล้วนะ !(˃o˂) ประมาณนี้ค่ะ

ซึ่งจะมีคำที่ตรงตัวอยู่อีกคำนึงก็คือ
時間を稼ぐ(じかんをかせぐ)
 แปลว่าการซื้อเวลา หรือ ยื้อเวลา นั่นเองค่ะ

ในการถ่วงเวลาหรือจู้คสำหรับเกมนี้จะมีสิ่งกีดขวางให้เราใช้อยู่หลักๆ 2 อย่างก็คือ

板(いた)แผ่นไม้
และ
窓(まど)หน้าต่าง

       
      
      ฮันเตอร์จะต้องทำการตีเซอร์ไวเวอร์ทั้งหมด 2 ครั้ง เพื่อ Knock down สังเกตอาการบาดเจ็บของเซอร์ไวเวอร์ได้จากหลอดแสดงค่าสถานะด้านข้าง หากตี แต่เนื่องจากตัวละครในเกมแต่ละตัวไม่ว่าจะเป็นฮันเตอร์หรือเซอร์ไวเวอร์ ต่างมีความสามารถพิเศษที่แตกต่างกันไป เช่น ผู้หยั่งรู้Seer ; 占い師)จะมีนกฮูกที่สามารถรับดาเมจแทนได้ 1 ครั้ง ทำให้ฮันเตอร์อาจจะต้องตีผู้หยั่งรู้ 3 ครั้ง เพื่อเป็นการ Knock down แล้วจึงจะสามารถนำไปวางบนเก้าอี้จรวดได้ค่ะ

      
   ปกติแล้วฮันเตอร์มักจะเลือกไล่เซอร์ที่ค่อนข้าง Weak เช่น มี Passive ข้ามสิ่งกีดขวางช้า หรือเลือกจากเซอร์ที่มี Passive ปั่นไฟเร็ว ค่ะ เพราะถ้าปล่อยไปนานๆ เครื่องปั่นไฟอาจจะเสร็จหมดเอาง่ายๆ55555 ดังนั้น หากเราเป็นตัวละครเหล่านั้น ทางที่ดีควรจะหลบหรือออกห่างจากผู้ล่าให้มากที่สุดค่ะ (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับรูปเกม จุดเกิด ตัวละครที่มีในเกมนั้นๆ ฯลฯ ด้วย)

การช่วยเหลือเพื่อนจากเก้าอี้จรวด(救助)
      เมื่อผู้รอดชีวิตล้มลง ฮันเตอร์ก็จะหิ้วเราไปนั่งบนกันอี้ค่ะ เมื่อนั่งแล้ว คนที่มีบทบาทสำคัญก็เป็นใครไม่ได้นอกจาก คนที่จะมาช่วย นั่นเองง โดยปกติคนที่มาช่วยเพื่อนจากเก้าอี้ มักจะเป็นตัวละครที่มีหน้าที่หลักเป็นหน่วยช่วยอยู่แล้วค่ะ แต่จริงๆ แล้ว ไม่ว่าใครก็สามารถมาดึงเพื่อนออกจากเก้าอี้ได้นะคะ เพียงแต่ว่า ตัวละครหน่วยช่วยเนี่ย จะมีค่าความสามารถที่เอื้ออำนวยต่อการมาช่วยมากกว่านั่นเองค่ะ เช่น มีปืน ที่สามารถ Stun ฮันเตอร์ไปชั่วขณะได้ หรือ มี Passive สามารถโดนดาเมจ 2 ครั้งได้โดยที่จะยังไม่ล้ม ติดตัวไว้อยู่ เป็นต้นค่ะ

เราเรียกตัวละครหน่วยช่วยเหล่านี้ว่า 救助キャラ(きゅうじょキャラ)
มาจาก 救助(きゅうじょ) ที่แปลว่า การช่วยเหลือ
รวมกับคำต่างประเทศอย่าง キャラ (มาจากคำว่า キャラクター) ที่แปลว่า ตัวละคร

 

อย่างตัวละครหน่วยช่วยที่เราเห็นภาพนี้ก็คือ 

Coordinator นักบินกองทัพ
空軍(くうぐん)
ตำแหน่ง : 救助キャラ (หน่วยช่วย)
 เธอคนนี้พกปืนค่ะ เท่มากๆ เลย ( ˊˋ )

ส่วนตัวละครอีก 2 ตัวที่เหลือคือ

Mercenary ทหารรับจ้าง
傭兵(ようへい)
ตำแหน่ง : 救助キャラ (หน่วยช่วย)

Perfumer นักปรุงน้ำหอม
調香師(ちょうこうし)
ตำแหน่ง : チェイスキャラ (ตัวถ่วงเวลา)  

      การนั่งเก้าอี้จรวดจะมีทั้งหมด 2 phase ด้วยกัน สังเกตง่ายๆจากขีดตรงกลางของค่าสถานะผู้เล่นค่ะ ถ้าเลยครึ่งนึงเมื่อไหร่ เท่ากับว่าเข้า phase ที่ 2 แล้ว ถ้าถูกจับนั่งที่เก้าอี้จรวดอีกครั้งจะถูกส่งกลับไปยังคฤหาสน์ ง่ายๆก็คือ เสียชีวิตค่ะ55555555 สู่ขิตกันไป


การหลบหนี(脱出)



ตามที่ได้บอกไปในข้างต้น หากเราสามารถถอดรหัสได้ครบ 5 เครื่อง 
เราจะสามารถนำรหัสมาเปิดประตูแล้วหลบหนีออกไปได้ค่ะ ซึ่งเรียกว่า

暗号を入力(あんごうをにゅうりょく)
การใส่รหัส

 ทั้งนี้ การเปิดประตูแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาประมาณ 15 วินาที (อาจมากหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวละครในแมทช์)

▶ สำหรับใครที่ยังไม่เห็นภาพ น้องแสวอัดคลิปแมทช์นี้มาฝากให้ได้ชมกันค่ะ เผื่อจะเข้าใจภาพรวมในเกมมากขึ้น ใครว่างๆ มานั่งดูขำๆ กันได้นะคะ อิอิ (ˊ͈ ˋ͈)

เนื่องจากน้องแสวอัดมาจากแมทช์ที่เซฟไว้ในตัวเกมอีกที ทำให้น้องแสวสามารถกดดูจากมุมกล้องเพื่อนๆ คนอื่น รวมถึงฮันเตอร์ได้ค่ะ และขออนุญาตเซ็นเซอร์ชื่อผู้เล่นคนอื่นๆ ไว้ค่ะ
  

Part1

 

Part 2



เป็นยังไงกันบ้างคะ? พอจะเข้าใจภาพรวมของเกมมากขึ้นมั้ยเอ่ย ⁎˃ ˂⁎
      ส่วนตัวคิดว่าเป็นเกมที่ไม่ว่าผู้เล่นฝั่งไหนก็ต้องใช้สมาธิสูงเกมนึงเลยค่ะ ต้องคิดวางแผนเกม แก้เกมกันไป อาจจะต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควรค่ะ แถมพอน้องแสวได้ไปตามฝั่งญี่ปุ่น ก็ได้คำศัพท์แล้วก็ความรู้ใหม่ๆ กลับมาเพียบเลย เพราะเกมนี้กำลังดังในญี่ปุ่นมากๆ ผู้เล่นฝั่งนั้นเลยเยอะเป็นพิเศษ ได้เรียนรู้อะไรเยอะดีค่ะ

แน่นอนว่าสิ่งที่อยู่เกม Identity V ไม่ได้มีเพียงเท่านี้แน่นอน
ไว้น้องแสวจะจะมาขายเกมนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีกนะคะ (⸝⸝⸝⸝)
ไว้เจอกันค่า またね!

ความคิดเห็น

  1. ชอบมากกก เกมนี้เราเคยเล่นสมัยเปิดเซิฟใหม่ๆ ตอนนั้นยังมีเซอร์ไวเวอร์แค่ไม่กี่ตัวเอง
    เขียนบล็อกละเอียดมากกก (สมมติว่ากอไก่ล้านตัว) ชอบที่เอาภาพมาใส่แคปชั่น เข้าใจง่ายมาก ทำต่อไปนะ ติดตามคับ

    ตอบลบ
  2. อ่านแล้วอยากเล่นขึ้นมาเชียว เขียนละเอียดมากค่ะ แต่มีคำถามว่าแล้วรหัสที่ถอด(ปั่นไฟ) มันหน้าตาเป็นแบบใดคะ ในเกมส์นี้มีคำศัพท์มากมาย เล่นเกมส์ไปก็ได้เรียนภาษาญี่ปุ่นไปด้วยนะเนี่ย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มันเป็นรหัสในจินตนาการเลยค่ะอาจารย์5555555 เหมือนกับว่าพอเราถอดรหัสเครื่องสุดท้ายเสร็จ เราจะสามารถไป Activate ประตูได้ หรือก็คือเดินไปกดเปิดประตูได้เลยน่ะค่ะ เค้าไม่ได้ใส่รายละเอียดถึงเรื่องรหัสที่เราเอาไปจิ้ม🤣 (เนียนๆว่าปั่นไฟจริง ได้รหัสจริง55555)

      ลบ
    2. อ๋อ เข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณนะคะ

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม