สาระกับน้องแสว : Input กับการเรียนภาษาที่สอง
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ สบายดีกันไหมคะ? (๑°꒵°๑)・*❤
ช่วงนี้น้องแสวอยู่แต่บ้านทั้งวันเลยค่ะ อยู่มาอาทิตย์กว่าๆ ได้แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ไวรัส Covid-19
ทำให้ช่วงนี้เหมือนได้จำลองฤดูจำศีลเลยค่ะ (˃ ⌑ ˂ഃ )
เพราะทางมหาลัยเปลี่ยนให้มาเรียน Online กันหมด
พอต้องมาเรียนที่บ้านแบบนี้ก็เหงาสุดๆ เลย ไม่ได้ออกไปเจอเพื่อนๆ
กับอาจารย์เหมือนแต่ก่อนแล้ว คิดถึงมากๆ เลยค่ะ
แต่ไม่ต้องห่วง ยังไงน้องแสวก็จะเอาความรู้มาฝากเพื่อนๆ อยู่เป็นระยะแน่นอนค่ะ
ในวันนี้ น้องแสวจะนำเนื้อหาเกี่ยวกับ การเรียนรู้ภาษาที่สอง มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันค่ะ
◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦
เพื่อนๆ รู้จักคำว่า Input กันไหมคะ?
มาดูกันว่าทั้ง 5 ประการนั้นมีอะไรบ้าง
① 習得・学習仮説 (The Acquisition and Learning Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับการรับรู้ภาษาและการเรียนรู้ภาษา
② 自然順序仮説 (The Natural Order Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับลำดับการรับภาษาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
③ モニター仮説 (The Monitor Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบและแก้ไขภาษา
④ インプット仮説 (The Input Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับการรับข้อมูลทางภาษา
⑤ 情意フィルター仮説 (The Affective Filter Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับการกลั่นกรองด้านจิตใจ
สมมติฐานเกี่ยวกับการรับรู้ภาษาและการเรียนรู้ภาษา
② 自然順序仮説 (The Natural Order Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับลำดับการรับภาษาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
③ モニター仮説 (The Monitor Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบและแก้ไขภาษา
④ インプット仮説 (The Input Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับการรับข้อมูลทางภาษา
⑤ 情意フィルター仮説 (The Affective Filter Hypothesis)
สมมติฐานเกี่ยวกับการกลั่นกรองด้านจิตใจ
◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦•◦
จากสมมติฐานทั้ง 5 ข้อ เจ้าข้อที่ 4 หรือ The Input Hypothesis นี่แหละ เป็นแนวคิดที่เขาได้พูดถึงความสำคัญของการรับข้อมูลภาษาที่สอง หรือ Input เอาไว้ค่ะ จะบอกว่าสมมติฐานข้อนี้สำคัญมากที่สุดจากบรรดาสมมติฐานทั้ง 5 ข้อเลยก็ว่าได้ เพราะการรับข้อมูลทางภาษา หรือ Input เนี่ย มันเป็นเสมือนคำตอบของคำถามที่ว่า คนเราสามารถรับรู้ภาษาได้อย่างไร โดย Krashen ก็ได้อธิบายไว้ว่า ผู้เรียนจะรับภาษาอย่างเป็นไปตามลำดับธรรมชาติของการรับภาษา จาก i ไปสู่ i+1
ซึ่ง
i = ระดับความรู้ของผู้เรียน
i+1 = ระดับความรู้ที่เพิ่มความยากจากความรู้ของผู้เรียนขึ้นมาเล็กน้อย
จึงอธิบายสั้นๆ ได้ว่า การรับข้อมูลทางภาษาที่ดีเนี่ย
ต้องรับข้อมูลที่มีระดับความยากมากกว่าความรู้ของผู้เรียนเล็กน้อยค่ะ
ถ้าเกิดเราเรียนโดยรับข้อมูลภาษาที่มีความยากมากกว่าระดับความรู้เรามากๆๆ แล้วเนี่ย แน่นอนว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาหรือตัวข้อมูลภาษานั้นได้ค่ะ แต่กลับกันอีก ถ้าเรารับข้อมูลภาษาที่ง่ายเกินไป มันก็ไม่เกิดการพัฒนาอีก ดังนั้น ถ้าเรารับข้อมูลภาษาตามหลัก i+1 ข้อมูลภาษาที่เราได้รับก็จะเป็นข้อมูลที่ไม่ยากไม่ง่ายเกินไปสำหรับตัวเรา และจะทำให้การรับข้อมูลนั้นมีประสิทธิภาพค่ะ ( •⌄• ू )✧
และนอกจากการรับข้อมูลภาษาที่ไม่ยากไม่ง่ายเกินไปแล้ว Input ที่ดี ยังต้องมีปริมาณมากอีกด้วยค่ะ แต่ไม่ใช่เอาแค่ปริมาณมากไว้ก่อนนะ ! พวกข้อมูลภาษาที่รับมามากๆ เนี่ย ก็ต้องเป็นข้อมูลภาษาที่มีคุณภาพด้วยเช่นกันค่ะ
อย่างตอนที่น้องแสวเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ๆ เนี่ย อันดับแรกเลยก็คือหาคอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นระดับที่ยากกว่าความรู้ของน้องแสวแค่เล็กน้อย เพราะน้องแสวก็รู้ศัพท์แค่งูๆ ปลาๆ こんにちは。わたしはน้องแสวです。ก็เริ่มเรียนตั้งแต่เบสิคไปเลย みんなの日本語 เล่มแรกที่แสนคุ้นเคย55555( ̄▽ ̄)ノ ถ้าอยู่ๆไปลงคอร์สเรียนของเล่ม 2 หรือสูงกว่านั้นอีก มันก็จะไม่ใช่ i+1 แล้วใช่มั้ยล่ะคะ จากนั้นก็ค่อยๆ เรียนไปตาม Step i+1 ไปเรื่อยๆ รวมถึงเน้นฟังภาษาญี่ปุ่นของอาจารย์ผู้สอนค่ะ เนื่องจากตัวป้อนข้อมูลทางภาษาที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายจะมีอยู่ 3 แหล่งด้วยกัน นั่นก็คือ การพูดของชาวต่างชาติ การพูดของอาจารย์ และการพูดของผู้ใช้ภาษาสากลค่ะ
*◇*◆*◇*◆*◇*◆*◇*◆*◇*◆*
พอจะเข้าใจในทฤษฎีนี้มากขึ้นไหมคะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่แวะเข้ามาอ่านไม่มากก็น้อยค่ะ เชื่อว่าหลายคนกำลังพยายามเรียนภาษาที่สองกันอย่างขยันขันแข็งอยู่แน่ๆ เรามาสู้ไปด้วยกันนะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่า ღゝ◡╹)ノ♡
อย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
สำหรับเรา ข้อมูลที่มีคุณภาพดูจำเป็นมากอ่ะ ไม่งั้นคือจำไปผิดๆ เศร้าเลย
ตอบลบสรุปได้กระชับและเข้าใจง่ายดีค่ะ
ตอบลบทุกวันนี้มันไม่ค่อย i+1 เลยนี่สิคะ ฟังไม่รู้เรื่อง...
ตอบลบ